คุณค่า อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
การใช้คำและโวหาร เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง มีการใช้ภาษาที่สละสลวยให้อารมณ์อันลึกซึ้งกินใจ อีกทั้งมีโวหารเปรียบเทียบให้เห็นภาพพจน์ให้เกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ ที่สำคัญยังแฝงด้วยข้อคิดที่มีคุณค่ายิ่งอีกมากมาย ดังนี้
การใช้ภาษาสละสลวยงดงาม มีการเล่นคำ เล่นสัมผัสพยัญชนะเพื่อให้เกิดความไพเราะ เช่น ตอนอิเหนาชมดง
ว่าพลางทางชมคณานก โผนผกจับไม้อึงมี่
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสการะวาตี
การใช้โวหารเปรียบเทียบ คือ โวหารอุปมาเป็นการสร้างอารมณ์ให้กับผู้อ่าน กวีเปรียบได้ชัดเจน เช่น
กรุงกษัตริย์ขอขึ้นก็นับร้อย เราเป็นเมืองน้อยกระจิหริด
ดังหิ่งห้อยจะแข่งแสงอาทิตย์ เห็นผิดระบอบบุราณมา
ปาหยังกับปะหมันประเมินกำลังฝ่ายตนว่าเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ เท่านั้น คงสู้วงศ์เทวาไม่ได้ จึงไม่ควรสู้เป็นการเตือนสติให้หยุดคิด แต่ก็ไม่ได้ผล ปัญหาใหญ่จึงตามมา
หรือจากคำคร่ำควรญของจินตะ หรา ที่เปรียบความรักเหมือนสายน้ำไหลที่ไหลไปแล้วจะไม่มีวันย้อนกลับ ที่มาของสำนวน "ความรักเหมือนสายน้ำไม่มีวันไหลย้อนกลับ" คำคร่ำครวญของจินตะหราเป็นเพราะเกิดความไม่มั่นใจในฐานะของตนเอง เกิดความรู้กขึ้นมาว่าตนอาจต้องสูญเสียคนรัก เพราะข่าวการแย่งบุษบาแสดงว่าบุษบาต้องสวยมาก อีกทั้งยังเป็นคู่หมั้นของอิเหนามาก่อน ยิ่งทำให้รู้สึกหวาดหวั่น ดังคำประพันธ์ทีอ่านแล้วจะเกิดอารมณ์สะเทือนใจ สงสาร และเห็นใจว่า
แล้วว่าอนิจจาความรัก พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
สตรีใดในพิภพจบแดน ไม่มีใครได้แค้นเหมือนนอกข้า
ด้วยใฝ่รักให้เกิดพักตรา จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์
อีกตอนหนึ่งมีใช้อุปมาโวหารได้กินใจเช่นกัน เพราะแสดงความรักอันท่วมท้นของพ่อที่มีต่อลูก
"พี่ดังพฤกษาพนาวัน จะอาสัญเพราะลูกเหมือนกล่าวมา"
ความรักของพ่อทนไม่ได้ที่เห็นลูกมีทุกข์ หากแลกได้จะยอมรับทุกข์แทนลูก แต่เมื่อทำไม่ได้พ่อก็ต้องพยายามจนถึงที่สุด แม้รู้ว่าจะไปตายก็ยอม บทเปรียบเทียบนี้เปรียบกับธรรมชาติ คือ ต้นไม้บางประเภทที่เมื่อออกผลแล้วต้นจะตายไป ต้นไม้ตายเพราะลูกก็เปรียบได้กับท้าวกะหมังกุหนิงต้องตายเพราะมีสาเหตุมาจาก วิหยาสะกำซึ่งเป็นพระราชโอรสนั่นเอง อุปมานี้ฝากข้อคิดไว้ให้ลูก ๆ ให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่รักเรามากมายเพียงใด
อีกตอนหนึ่งเป็นข้อความในพระราชสาส์นที่ท้าวกุเรปันมีไปถึงอิเหนา ท้าวกุเรปันเป็นคนรักลูกก็จริง แต่ก็หยิ่งในเกียรติถือยศถือศักดิ์ ถ้าลูกผิดก็จะไม่มีวันโอนอ่อน คำประพันธ์ตอนนี้จึงให้อารมณ์ของความเด็ดขาด เข้มแข็ง ไม่มีการอ้อนวอนขอร้องใด เปิดโอกาสให้อิเหนาคิดเอาเอง หากไม่มาก็ถือตัดพ่อตัดลูกชนิดไม่ต้องมาเผาผีกัน
แม้มิยกพลไกรไปช่วย เราก็ม้วยก็อย่ามาดูผี
อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่วันนี้ขาดกันจนบรรลัย
การใช้คำและโวหาร เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง มีการใช้ภาษาที่สละสลวยให้อารมณ์อันลึกซึ้งกินใจ อีกทั้งมีโวหารเปรียบเทียบให้เห็นภาพพจน์ให้เกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ ที่สำคัญยังแฝงด้วยข้อคิดที่มีคุณค่ายิ่งอีกมากมาย ดังนี้
การใช้ภาษาสละสลวยงดงาม มีการเล่นคำ เล่นสัมผัสพยัญชนะเพื่อให้เกิดความไพเราะ เช่น ตอนอิเหนาชมดง
ว่าพลางทางชมคณานก โผนผกจับไม้อึงมี่
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสการะวาตี
การใช้โวหารเปรียบเทียบ คือ โวหารอุปมาเป็นการสร้างอารมณ์ให้กับผู้อ่าน กวีเปรียบได้ชัดเจน เช่น
กรุงกษัตริย์ขอขึ้นก็นับร้อย เราเป็นเมืองน้อยกระจิหริด
ดังหิ่งห้อยจะแข่งแสงอาทิตย์ เห็นผิดระบอบบุราณมา
ปาหยังกับปะหมันประเมินกำลังฝ่ายตนว่าเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ เท่านั้น คงสู้วงศ์เทวาไม่ได้ จึงไม่ควรสู้เป็นการเตือนสติให้หยุดคิด แต่ก็ไม่ได้ผล ปัญหาใหญ่จึงตามมา
หรือจากคำคร่ำควรญของจินตะ หรา ที่เปรียบความรักเหมือนสายน้ำไหลที่ไหลไปแล้วจะไม่มีวันย้อนกลับ ที่มาของสำนวน "ความรักเหมือนสายน้ำไม่มีวันไหลย้อนกลับ" คำคร่ำครวญของจินตะหราเป็นเพราะเกิดความไม่มั่นใจในฐานะของตนเอง เกิดความรู้กขึ้นมาว่าตนอาจต้องสูญเสียคนรัก เพราะข่าวการแย่งบุษบาแสดงว่าบุษบาต้องสวยมาก อีกทั้งยังเป็นคู่หมั้นของอิเหนามาก่อน ยิ่งทำให้รู้สึกหวาดหวั่น ดังคำประพันธ์ทีอ่านแล้วจะเกิดอารมณ์สะเทือนใจ สงสาร และเห็นใจว่า
แล้วว่าอนิจจาความรัก พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา
สตรีใดในพิภพจบแดน ไม่มีใครได้แค้นเหมือนนอกข้า
ด้วยใฝ่รักให้เกิดพักตรา จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์
อีกตอนหนึ่งมีใช้อุปมาโวหารได้กินใจเช่นกัน เพราะแสดงความรักอันท่วมท้นของพ่อที่มีต่อลูก
"พี่ดังพฤกษาพนาวัน จะอาสัญเพราะลูกเหมือนกล่าวมา"
ความรักของพ่อทนไม่ได้ที่เห็นลูกมีทุกข์ หากแลกได้จะยอมรับทุกข์แทนลูก แต่เมื่อทำไม่ได้พ่อก็ต้องพยายามจนถึงที่สุด แม้รู้ว่าจะไปตายก็ยอม บทเปรียบเทียบนี้เปรียบกับธรรมชาติ คือ ต้นไม้บางประเภทที่เมื่อออกผลแล้วต้นจะตายไป ต้นไม้ตายเพราะลูกก็เปรียบได้กับท้าวกะหมังกุหนิงต้องตายเพราะมีสาเหตุมาจาก วิหยาสะกำซึ่งเป็นพระราชโอรสนั่นเอง อุปมานี้ฝากข้อคิดไว้ให้ลูก ๆ ให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่รักเรามากมายเพียงใด
อีกตอนหนึ่งเป็นข้อความในพระราชสาส์นที่ท้าวกุเรปันมีไปถึงอิเหนา ท้าวกุเรปันเป็นคนรักลูกก็จริง แต่ก็หยิ่งในเกียรติถือยศถือศักดิ์ ถ้าลูกผิดก็จะไม่มีวันโอนอ่อน คำประพันธ์ตอนนี้จึงให้อารมณ์ของความเด็ดขาด เข้มแข็ง ไม่มีการอ้อนวอนขอร้องใด เปิดโอกาสให้อิเหนาคิดเอาเอง หากไม่มาก็ถือตัดพ่อตัดลูกชนิดไม่ต้องมาเผาผีกัน
แม้มิยกพลไกรไปช่วย เราก็ม้วยก็อย่ามาดูผี
อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่วันนี้ขาดกันจนบรรลัย
ใช้คำบรรยายชัดเจนได้ภาพพจน์ ผู้อ่านนึกภาพตามผู้เขียนบรรยายตามไปยิ่งจะทำให้ได้อรรถรสในการอ่านมากขึ้น เช่น ตอนอิเหนาต่อสู้กับท้าวกะหมังกุหนิงด้วยใช้กริชเป็นอาวุธ จะเห็นลีลาท่าทางและจังหวะที่สอดคล้องกัน เห็นทีท่าอันฉับไวและสง่างาม
เมื่อนั้น ท้าวกะหมังกุหนิงเรืองศรี
ได้ฟังคำชื่นชมยินดี ครั้งนี้อิเหนาจะวายชนม์
อันเพลงกริชชวามลายู กูรู้สันทัดไม่ขัดสน
คิดแล้วชักกริชชวามลายู ร่ายทำทำกลมารยา
กรขวานั้นกุมกริชกราย พระหัตถ์ซ้ายนั้นถือเช็ดหน้า
เข้าปะทะประกริชด้วยฤทธา ผัดผันไปมาไม่ครั่นคร้าม
เมื่อนั้น ระเด่นมนตรีชาญสมาน
พระกรกรายลายกริชติดตาม ไม่เข็ดขามคร้ามถอยคอยรับ
หลบหลีกไวว่องป้องกัน ผัดผันหันออกกลอกกลับ
ปะทะแทงแสร้างทำสำทับ ย่างกระหยับรุกไล่มิได้ยั้ง
เห็นระตูถอยเท้าก้าวผิด พระกรายกริชแทงอกตลอดหลัง
ล้มลงดาวดิ้นสิ้นกำลัง มอดม้วยชีวังปลดปลง
เมื่อนั้น ท้าวกะหมังกุหนิงเรืองศรี
ได้ฟังคำชื่นชมยินดี ครั้งนี้อิเหนาจะวายชนม์
อันเพลงกริชชวามลายู กูรู้สันทัดไม่ขัดสน
คิดแล้วชักกริชชวามลายู ร่ายทำทำกลมารยา
กรขวานั้นกุมกริชกราย พระหัตถ์ซ้ายนั้นถือเช็ดหน้า
เข้าปะทะประกริชด้วยฤทธา ผัดผันไปมาไม่ครั่นคร้าม
เมื่อนั้น ระเด่นมนตรีชาญสมาน
พระกรกรายลายกริชติดตาม ไม่เข็ดขามคร้ามถอยคอยรับ
หลบหลีกไวว่องป้องกัน ผัดผันหันออกกลอกกลับ
ปะทะแทงแสร้างทำสำทับ ย่างกระหยับรุกไล่มิได้ยั้ง
เห็นระตูถอยเท้าก้าวผิด พระกรายกริชแทงอกตลอดหลัง
ล้มลงดาวดิ้นสิ้นกำลัง มอดม้วยชีวังปลดปลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น