ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ประวัติความเป็นมา
เมื่อราชวงศ์สุโขทัยได้สูญเสียอำนาจและกลายเป็นเมืองร้าง ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง และศิลาจารึกหลักอื่น ๆ ที่จารึกในยุคนั้นก็สาบสูญ ไปจากความทรงจำของชาวไทย จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงดำรง พระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ และผนวชอยู่ที่วัดราชาธิวาส ได้เสด็จธุดงค์เมืองเหนือ (ปีมะเส็ง เญจศก จุลศักราช ๑๑๙๓) ในระหว่างประทับอยู่ที่สุโขทัย ได้ทรงพบศิลาจารึก และพระแท่นมนังศิลา ณ บริเวณเนินประสาทพระราชวังเก่าสุโขทัย ครั้นเมื่อจะเสด็จกลับก็โปรดเกล้าฯ ให้นำพระแท่น มนังคศิลา และศิลาจารึกกลับมาไว้ที่วัดสมอราย(ราชาธิวาส) ที่กรุงเทพฯ แล้วย้ายมาไว้ ที่วัดบวรนิเวศ เมื่อพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์จึงได้โปรดให้นำมาไว้ที่วิหา รขาววัดพระศรีรัตนศาสดารามที่พระบรมมหาราชวัง ต่อมาในปลายปี พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้นำศิลาจารึกนี้ไปรวมกับศิลาจารึกอื่น ๆ ในหอสมุดแห่งชาติ ปัจจุบันนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ผู้แต่ง
มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงหลายท่าน และผู้ที่มีบทบาท สำคัญก็คือ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดย์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้าน ภาษาตะวันออก ได้ศึกษาศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง และได้จัดทำคำอ่านไว้อย่างละเอียด ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ แ ละผู้เชี่ยวชาญ ทางภาษาโบราณ อีกหลายคน ได้ศึกษาการอ่านคำจารึก และการตีความถ้อยคำในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร และศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ได้ศึกษาคำอ่านทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมขึ้น
จากการสันนิษฐาน ผู้แต่งอาจมีมากกว่า ๑ คน เพราะเนื้อเรื่อง ในหลักศิลาจารึกแบ่งได้เป็น ๓ ตอน คือ
ตอนแรก กล่าวถึง พระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง ใช้คำแทนชื่อว่า "กู" เข้าใจว่า พ่อขุนรามคำแหงคงจะทรงแต่งเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระองค์เอง
ตอนที่ ๒ เป็นการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ใช้คำว่าพ่อขุนรามคำแหง โดยเริ่มต้นว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหงเมืองสุโขทัยนี้ดี......" จึงเข้าใจว่าจะต้อง เป็นผู้อื่นแต่ง เพิ่มเติมภายหลัง
ตอนที่ ๓ เป็นตอนยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง โดยเริ่มต้นว่า "พ่อขุนรามคำแหง นั้นหาเป็นท้าวเป็นพระยาแก่ไทยทั้งหลาย......" ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดย์ สันนิษฐานว่า ความในตอนที่ ๓ คงจารึกหลังตอนที่ ๑ และตอนที่ ๒ จึงเข้าใจว่าผู้อื่นแต่งต่อในภายหลัง
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
๑. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เช่น หลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย เหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนชี้แจงอาณาเขตของกรุงสุโขทัย
๒. เพื่อสดุดีพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง
ลักษณะการแต่ง
แต่งเป็นร้อยแก้ว ลักษณะเป็นประโยคสั้น ๆ กะทัดรัด และมีสัมผัสคล้องจองกันระหว่างวรรคบ้าง
เนื้อเรื่อง
เนื้อหาแบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือ
ตอนที่ ๑ ตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ - ๑๘ เป็นพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง ตั้งแต่ประสูติ จนถึงเสด็จขึ้ครองราชย์ เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระจริยวัตรที่พระองค์ทรงปฏิบัติต่อพระราชบ ิดา พระราชมารดา และพระเชษฐา
ตัวอย่างข้อความ "พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมืองกูพี่น้องท้องเดียวกันห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตรียมแต่ยังเล็ก"
"เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเราแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลากูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู"
ตอนที่ ๒ ตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ จนถึงด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๑ กล่าวถึงสภาพบ้านเมือง เหตุการณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นอยู่ พระศาสนา การปกครอง ศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใน พ.ศ. ๑๘๒๖
ตัวอย่างข้อความ "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจัดใคร่ค้าเงินค้าทองค้าไพร่ฟ้าหน้าใส"
"คนเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักอวยทาน"
ตอนที่ ๓ ตั้งแต่ด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๒ จนถึงบรรทัดที่ ๒๗ (บรรทัดสุดท้าย) เป็นการยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตของกรุงสุโขทัย
ตัวอย่างข้อความ "ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้าน กลางเมือง มีถ้อย มีความ เจ็บท้องข้องใจ มักจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปสั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซ ื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยจึงชม"
เนื้อหาแบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือ
ตอนที่ ๑ ตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ - ๑๘ เป็นพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง ตั้งแต่ประสูติ จนถึงเสด็จขึ้ครองราชย์ เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระจริยวัตรที่พระองค์ทรงปฏิบัติต่อพระราชบ ิดา พระราชมารดา และพระเชษฐา
ตัวอย่างข้อความ "พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมืองกูพี่น้องท้องเดียวกันห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตรียมแต่ยังเล็ก"
"เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเราแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลากูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู"
ตอนที่ ๒ ตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ จนถึงด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๑ กล่าวถึงสภาพบ้านเมือง เหตุการณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเป็นอยู่ พระศาสนา การปกครอง ศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใน พ.ศ. ๑๘๒๖
ตัวอย่างข้อความ "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจัดใคร่ค้าเงินค้าทองค้าไพร่ฟ้าหน้าใส"
"คนเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักอวยทาน"
ตอนที่ ๓ ตั้งแต่ด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๒ จนถึงบรรทัดที่ ๒๗ (บรรทัดสุดท้าย) เป็นการยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตของกรุงสุโขทัย
ตัวอย่างข้อความ "ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้าน กลางเมือง มีถ้อย มีความ เจ็บท้องข้องใจ มักจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปสั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซ ื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยจึงชม"
คุณค่าของหนังสือ
๑. ด้านภาษาและสำนวนโวหาร จารึกของพ่อขุนรามคำแหงเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุด ที่แสดงให้เห็นถึงกำเนิดของวรรณคดีและอักษรไทย เช่น กล่าวถึงหลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทย
ด้านสำนวนการใช้ถ้อยคำในการเรียบเรียงจะเห็นว่า
- ถ้อยคำส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวและเป็นคำไทยแท้ เช่น อ้าง โสง นาง เป็นต้น
- มีคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตปนอยู่บ้าง เช่น ศรีอินทราทิตย์ ตรีบูร อรัญญิก ศรัทธา พรรษา เป็นต้น
- ใช้ประโยคสั้น ๆ ให้ความหมายกระชับ เช่น แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง
- ข้อความบางตอนใช้คำซ้ำ เช่น "ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้”
- นิยมคำคล้องจองในภาษาพูด ทำให้เกิดความไพเราะ เช่น "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว
เจ้าเมืองบเอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย"
- ใช้ภาษาที่เป็นถ้อยคำพื้น ๆ เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน
๒. ด้านประวัติศาสตร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง จารึกไว้ทำนองเฉลิมพระเกียรติ ตลอดจนความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสภาพสังคมของกรุงสุโขทัย ทำให้ผู้อ่านรู้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของกรุงสุโขทัย พระปรีชาสามารถของพ่อขุนรามคำแหง และสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัย
๓. ด้านสังคม ให้ความรู้ด้านกฎหมายและการปกครองสมัยกรุงสุโขทัย ว่ามีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระมหากษัตริย์ดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด
๔. ด้านวัฒนธรรม ประเพณี ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของชาวสุโขทัยที่
ปฏิสืบมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การเคารพบูชาและเลี้ยงดูบิดามารดา นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงประเพณีทางศาสนา เช่น การทอดกฐินเมื่อออกพรรษา ประเพณีการเล่นรื่นเริงมีการจุดเทียนเล่นไฟ พ่อขุนรามคำแหงโปรดให้ราษฎรทำบุญและฟังเทศน์ในวันพระ เช่น "คนเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักอวยทาน.......ฝูงท่วยมีศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น