ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
นางนพมาศในหนังสือนางนพมาศ หรือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือ เรวดีนพมาศ นั้น เป็นธิดาของพระศรีมโหสถและนางเรวดี นางนพมาศเป็นผู้มีรูปสมบัติและคุณสมบัติที่งดงาม ได้รับการอบรมจากบิดา มีความรู้ทางอักษรศาสตร์ พุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ การช่างของสตรี ตลอดจนการขับร้องดนตรี นางนพมาศได้ถวายตัวเป็นสนม ทำหน้าที่ขับร้องถวาย ได้เป็นพระสนมเอก ตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์
เรื่องนางนพมาศ มีชื่อเรียกกันอยู่ ๓ ชื่อ คือ นพมาศ เรวดีนพมาศ และตำรับท้างศรีจุฬาลักษณ์ เป็นหนังสือที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมัยที่แต่ง นักวรรณคดีมีความเห็นแตกต่างกันเป็น ๒ กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ ๑ มีความเห็นว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นหนังสือที่ไม่ได้แต่งในสมัยกรุงสุโขทัย คงแต่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า “จะเห็นได้ง่ายว่าเป็นหนังสือแต่งในครั้งกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง แต่งระหว่างรัชกาลที่ ๒ – ๓ ไม่ก่อนหน้านั้น และไม่เป็นสำนวนภายหลังนั้นลงมาแน่นอน”
กลุ่มที่ ๑ มีความเห็นว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นหนังสือที่ไม่ได้แต่งในสมัยกรุงสุโขทัย คงแต่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า “จะเห็นได้ง่ายว่าเป็นหนังสือแต่งในครั้งกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง แต่งระหว่างรัชกาลที่ ๒ – ๓ ไม่ก่อนหน้านั้น และไม่เป็นสำนวนภายหลังนั้นลงมาแน่นอน”
กลุ่มที่ ๒ มีความเห็นว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ อาจแต่งในสมัยกรุงสุโขทัย เพราะมีเค้าความคิดและถ้อยคำสมัยกรุงสุโขทัย แต่มาแต่งเติมในชั้นหลังมากกว่า
อย่างไรก็ตาม ทั้ ๒ กลุ่มก็มีความเห็นตรงกันว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นหนังสือที่แต่งเติมหรือแต่งใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยใช้เค้าเรื่องเดิม ทั้งนี้เพราะมีเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น การกล่าวถึงชนชาติอเมริกัน การกล่าวถึงปืนใหญ่ ซึ่งยังไม่มีในสมัยนั้น ถ้อยคำสำนวนเป็นถ้อยคำใหม่ มีคำกลอนซึ่งเกิดขึ้นหลังสมัยกรุงสุโขทัยด้วย
สมัยที่แต่ง สันนิษฐานว่า แต่งในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท )
ผู้แต่ง เชื่อกันว่าเป็นกวีหญิง ชื่อ นพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์พระสนมเอกของพระยาลิไท
นางนพมาศ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นธิดาของพระศรีมโหสถ มารดาชื่อนางเรวดี ได้รับการสั่งสอนจากบิดา มีความรู้สูงในด้านภาษาไทย ภาษาสันสกฤต ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ การแต่งคำประพันธ์ โหราศาสตร์ การขับร้องและการช่างสตรี มีความงามเลื่อลือทั้งคุณสมบัติดีเลิศ ต่อมาได้เป็นพระสนม เคยจัดดอกไม้ประดับขันหมากรับรองแขกเมือง ประดิษฐ์โคมลอยพระประทีป ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ตำแหน่งพระสนมเอก ด้านวรรณคดีเป็นผู้เขียนหนังสือนางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
นางนพมาศ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นธิดาของพระศรีมโหสถ มารดาชื่อนางเรวดี ได้รับการสั่งสอนจากบิดา มีความรู้สูงในด้านภาษาไทย ภาษาสันสกฤต ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ การแต่งคำประพันธ์ โหราศาสตร์ การขับร้องและการช่างสตรี มีความงามเลื่อลือทั้งคุณสมบัติดีเลิศ ต่อมาได้เป็นพระสนม เคยจัดดอกไม้ประดับขันหมากรับรองแขกเมือง ประดิษฐ์โคมลอยพระประทีป ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ตำแหน่งพระสนมเอก ด้านวรรณคดีเป็นผู้เขียนหนังสือนางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
จุดมุ่งหมายในการแต่ง กล่าวกันว่า นางนพมาสหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์เขียนหนังสือเรื่องนี้ขึ้น
เพื่อเล่าประวัติของตนเอง ในฐานะที่เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้า และเพื่อแสดงความเป็นมาของวัฒนธรรมและพิธีกรรมบางอย่างที่เกิดข ึ้นในสมัยนั้น นอกจากนั้นบรรดานิทานต่าง ๆ ที่แต่งแทรกอยู่ในหนังสือเล่มนี้ล้วนเป็นนิทานที่ผู้แต่งยกมาประ กอบการอบรมสั่งสอนผู้หญิงทั้งหลาย ให้อยู่ในความประพฤติที่ดีงาม จึงนับว่าเป็นวรรณคดีคำสอนเล่มหนึ่ง
เพื่อเล่าประวัติของตนเอง ในฐานะที่เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้า และเพื่อแสดงความเป็นมาของวัฒนธรรมและพิธีกรรมบางอย่างที่เกิดข ึ้นในสมัยนั้น นอกจากนั้นบรรดานิทานต่าง ๆ ที่แต่งแทรกอยู่ในหนังสือเล่มนี้ล้วนเป็นนิทานที่ผู้แต่งยกมาประ กอบการอบรมสั่งสอนผู้หญิงทั้งหลาย ให้อยู่ในความประพฤติที่ดีงาม จึงนับว่าเป็นวรรณคดีคำสอนเล่มหนึ่ง
ลักษณะคำประพันธ์ เป็นความเรียงทำนองชีวประวัติ มีคำประพันธ์ร้อยกรองแทรกบางตอนได้แก่ โคลงสี่สุภาพและกลอนดอกสร้อย เป็นต้น
เนื้อเรื่อง เนื้อหาแบ่งเป็น ๒ ตอน คือ
ตอนที่ ๑ ว่าด้วยชีวประวัตินางนพมาศ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเข้ารับราชการฝ่ายใน ในราชสำนักของพระร่วงเจ้า และได้เลื่อนขึ้นเป็นพระสนมเอกในรัชกาลนั้น และกล่าวถึงพิธีต่าง ๆ ที่ปฏิบัติกันอยู่เป็นประเพณีตลอด ๙ เดือน เช่น พิธีเผาข้าว พิธีจรดพระนังคัล พิธีวิสาขะ พิธีอาสวยุช (แข่งเรือ) พิธีจองเปรียงลอยพระประทีป เป็นต้น
ตอนที่ ๒ อาจถือเป็นภาคผนวก หรือเป็นตอนที่ผู้อื่นแต่งเติมเข้ามาก็ได้ เพราะมีนิทานต่าง ๆ แทรกอยู่หลายเรื่อง ซึ่งไม่ค่อยเกี่ยวกับเนื้อหาสาระเท่าใดนัก
นิทานที่แทรกในหนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องนิทานสอนผู้หญิงในแง่ต่าง ๆ ให้เห็นลักษณะ
ของการประพฤติชั่วว่ามีโทษอย่างไร และการทำดีมีผลสนองอย่างไร เช่น นิทานเรื่องนางนกกระต้อยตีวิดโลเล นางช้างแสนงอน นางนกกระเรียนคบนางนกไส้ช่างยุ เป็นต้น
ตอนที่ ๑ ว่าด้วยชีวประวัตินางนพมาศ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเข้ารับราชการฝ่ายใน ในราชสำนักของพระร่วงเจ้า และได้เลื่อนขึ้นเป็นพระสนมเอกในรัชกาลนั้น และกล่าวถึงพิธีต่าง ๆ ที่ปฏิบัติกันอยู่เป็นประเพณีตลอด ๙ เดือน เช่น พิธีเผาข้าว พิธีจรดพระนังคัล พิธีวิสาขะ พิธีอาสวยุช (แข่งเรือ) พิธีจองเปรียงลอยพระประทีป เป็นต้น
ตอนที่ ๒ อาจถือเป็นภาคผนวก หรือเป็นตอนที่ผู้อื่นแต่งเติมเข้ามาก็ได้ เพราะมีนิทานต่าง ๆ แทรกอยู่หลายเรื่อง ซึ่งไม่ค่อยเกี่ยวกับเนื้อหาสาระเท่าใดนัก
นิทานที่แทรกในหนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องนิทานสอนผู้หญิงในแง่ต่าง ๆ ให้เห็นลักษณะ
ของการประพฤติชั่วว่ามีโทษอย่างไร และการทำดีมีผลสนองอย่างไร เช่น นิทานเรื่องนางนกกระต้อยตีวิดโลเล นางช้างแสนงอน นางนกกระเรียนคบนางนกไส้ช่างยุ เป็นต้น
คุณค่าของหนังสือ
๑. ด้านวัฒนธรรม ทำให้รู้เรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีในพระราชสำนัก ได้แก่ ประเพณีลอยกระทง การปฏิบัติตัวของหญิงชาววัง เช่น ตำแหน่งหน้าที่ของนางนพมาศ และการศึกษาของเด็กไทยสมัยก่อน ตลอดจนขนบธรรมเนียมการรับราชการบางประการในราชสำนัก เช่น กล่าวว่า “แม้จะทำกิจราชการเฝ้าแหน จงประพฤติจริตกิริยาหมอบคลานให้เรียบร้อย ต้องที่ต้องทาง อย่าทำรี ๆ ขวาง ๆ ให้เขาว่า” และการลอยกระทงซึ่งสืบทองมาจนถึงทุกวันนี้
๒. ด้านสังคม ให้ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติสตรีและค่านิยมทางสังคม ได้แก่ ความประพฤติ ความขยัน รวมทั้งวิชาทางช่าง ทำให้มองเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมในสมัยของพระยาลิไท ประชาชนมีความเป็นอยู่สมบูรณ์พูนสุข มีความสนุกสนานรื่นเริง และมีใจบุญสุนทาน
๓. ด้านภาษา มีคุณค่าทางอักษรศาสตร์และวรรณคดี เรื่องนี้ใช้โวหารเชิงพรรณนาได้อย่างดียิ่งมีความไพเราะ ทำให้อ่านเข้าใจง่าย
๔. ด้านโบราณคดี ให้ความรู้ทางโบราณคดี เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบพระราชพิธี
ต่าง ๆ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน ก็อาศัยหลักการค้นคว้าจากตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ประกอบด้วย
ต่าง ๆ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน ก็อาศัยหลักการค้นคว้าจากตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ประกอบด้วย
๕. ด้านอิทธิพลตอ่วรรณคดีอื่น ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีอิทธิพลต่อวรรณคดียุคหลัง คือ พระราชพิธี ๑๒ เดือน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น ได้ทรงใช้หนังสือเล่มนี้ค้นคว้าประกอบการพระราชนิพนธ์ และมีการกล่าวอ้างถึงนางนพมาศในพระราชนิพนธ์นี้ด้วย
สรุปวรรณคดีสมัยสุโขทัย
สรุปวรรณคดีสมัยสุโขทัย แยกออกได้ดังนี้
๑. เนื้อหา ส่วนใหญ่เป็นวรรณคดีสอน ยกเว้นศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็ยังมีข้อความที่กล่าวถึงพ่อขุนร ามคำแหงทรงสั่งสอนประชาชนในวันธรรมดาที่มิใช่วันธรรมสวนะ ลักษณะคำสอนของวรรณคดีสมัยนั้นอาจสรุปได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ เป็นคำสอนตามแนวพุทธศาสนาและสอนคำตามแนวความคิดเห็นแบบคนไทยโบร าณ
๒. ลักษณะคำประพันธ์ ส่วน มากเป็นร้อยแก้ว คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรื่องนางนพมาศ และเตภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง บทประพันธ์ร้อยกรองมีเพียงเรื่องเดียว คือ สุภาษิตพระร่วง ซึ่งแต่งเป็นร้อยกรองประเภทร่ายโบราณ
๓. จุดมุ่งหมายในการแต่ง มีดังนี้
- บันทึกสภาพสังคม การเมือง และการปกครอง
- อบรมสั่งสอนศีลธรรม
- เทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์
๑. เนื้อหา ส่วนใหญ่เป็นวรรณคดีสอน ยกเว้นศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็ยังมีข้อความที่กล่าวถึงพ่อขุนร ามคำแหงทรงสั่งสอนประชาชนในวันธรรมดาที่มิใช่วันธรรมสวนะ ลักษณะคำสอนของวรรณคดีสมัยนั้นอาจสรุปได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ เป็นคำสอนตามแนวพุทธศาสนาและสอนคำตามแนวความคิดเห็นแบบคนไทยโบร าณ
๒. ลักษณะคำประพันธ์ ส่วน มากเป็นร้อยแก้ว คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรื่องนางนพมาศ และเตภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง บทประพันธ์ร้อยกรองมีเพียงเรื่องเดียว คือ สุภาษิตพระร่วง ซึ่งแต่งเป็นร้อยกรองประเภทร่ายโบราณ
๓. จุดมุ่งหมายในการแต่ง มีดังนี้
- บันทึกสภาพสังคม การเมือง และการปกครอง
- อบรมสั่งสอนศีลธรรม
- เทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น