2559-05-10

ประวัติวรรณคดีไทยสมัยอยุธยา

ประวัติวรรณคดีสมัยสุโขทัย 
สภาพเหตุการณ์ทั่วไป          
               อาณาจักรสุโขทัยมั่นคงเป็นปึกแผ่นขึ้น หลังจากที่เข้ามามีอำนาจเหนือขอมได้เมื่อ ประมาณพ.ศ.๑๘๐๐ โดยพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ได้รวมกำลังกันยกกองทัพมาตีเมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นเมือง ใหญ่หน้าด่าน ของขอม มีผู้ปกครอง เมืองเรียกว่าขอมสมาดโขลญลำพง รักษาเมืองอยู่ เมื่อตีกรุงสุโขทัยได้แล้ว พ่อขุนผาเมืองก็ได้ อภิเษกให้พ่อขุนบางกลางหาว เป็นเจ้าเมืองครองกรุงสุโขทัย มีพระนาม ตามอย่างที่ขอม เคยตั้งนามเจ้าเมืองสุโขทัยแต่ก่อนว่า 
"ศรีอินทรปตินทราทิตย์"   แต่ในศิลาจารึกของ พ่อขุนรามคำแหงว่า "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์" ซึ่งเป็นต้นราชวงศ ์ สุโขทัย (ราชวงศ์พระร่วง)
             พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีชื่อนางเสือง มีพระราชโอรส ๓ พระองค์
องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ ตั้งแต่ยังเยาว์องค์กลางมีนามว่าบานเมือง และองค์เล็กมีนามว่า พระรามคำแหง
            ในรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย ์อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรเล็ก ๆมีอาณาเขต ดังนี้
            ทิศเหนือ  จดอาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรลานนาไทยอาณาจักรพะเยา
           ทิศตะวันตก  จดเมืองฉอด
           เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคต พ่อขุนบานเมืองได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒
และได้ทรงตั้งพระรามคำแหงเป็นมหาอุปราชครองเมืองชะเลียง พ่อขุนบานเมือง ได้ครองราชย์ อยู่จนถึงราว   พ.ศ. ๑๘๒๒ ก็สวรรคต 
พ่อขุนรามคำแหง (พระอนุชา)จึงขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๓ พระองค์ทรงเป็นนักรบที่ปรีชาสามารถ ก่อนครองราชสมบัติ เคยทรงชนช้างชนะเจ้าเมืองฉอด และในสมัยของพระองค์อาณาจักรสุโขทัยสงบราบคาบ กว้างใหญ่ไพศาล มีการเจริญสัมพันธไมตรีฉันเพื่อนกับพระเจ้าเม็งราย แห่งเชียงใหม่ พระยางำเมืองแห่งพะเยา และในขณะเดียวกันก็ได้เจริญสัมพันธไมตรีกับมอญ เล่ากันว่า มะกะโทกษัตริย์มอญ ทรงเป็นราชบุตรเขยของพระองค์ นอกจากนี้ทรงได้เจริญสัมพันธไมตรี กับจีน จนได้ช่างฝีมือชาวจีนมาปรับปรุงคุณภาพของเครื่องสังคโลกในสุโขท ัย และในรัชสมัย พ่อขุนรามคำแหงนี้เริ่มมีวรรณคดีที่จารึกเป็นหลักฐานของชาติขึ้ นเป็นครั้งแรก
          สุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลงหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระเจ้าเลอไทยกษัตริย์องค์ที่ ๔
ไม่ทรงมีพระปรีชาสามารถและเข้มแข็งเท่าพระราชบิดา ทำให้หัวเมืองต่าง ๆ พากัน แข็งข้อ เป็นอิสระพระเจ้า อู่ทองเจ้าเมืองอู่ทองหรือสุพรรณภูมิ ได้ทรงขยาย อาณาเขต กว้างขวางขึ้นและทรงสถาปนาอยุธยาเป็นราชธานี ใน พ.ศ. ๑๘๙๓ (ค.ศ. ๑๓๕๐)

          พระเจ้าเลอไทยสวรรคตใน  พ.ศ. ๑๘๙๐ มีการแย่งราชสมบัติระหว่างราชโอร ๒ พระองค์ พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท)   ได้ทรงครองราชสมบัติแทน พระองค์เป็น กษัตริย์ที่ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ทรงอุทิศเวลา ศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ทรงนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วงทรงสร้างวัดและสถูปเจดีย์ต่าง ๆ มากมาย และสร้างสถานที่ สำคัญต่าง ๆในสุโขทัยอีกหลายแห่ง
         พระมหาธรรมราชาที่  ๒ ราชโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ได้ทรงสืบ ราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา
         อำนาจกรุงสุโขทัยได้สิ้นสุดลงหลังจากได้เอกราชมาประมาณ ๑๔๐ ปี   เมื่อ   กองทัพของพระเจ้าบรมราชาที่  ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาตีได้ใน  พ.ศ. ๑๙๒๑ แต่ราชวงศ์สุโขทัยยังคงครองสุโขทัยสืบต่อมาอีกประมาณ ๖๐ ปีจนถึงสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๔  พระเจ้าบรมราชาที่ ๒แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครอง อาณาจักร สุโขทัยเสียใหม่ โดยทรงตั้งสมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรสไปครองพิษณุโลก การปฏิบัติ เช่นนี้ถือว่าเป็นการสิ้นสุดอำนาจของราชวงศ์สุโขทัยอย่างเด็ดขา ดและสุโขทัยกลายเป็น ส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่นั้นมา
      

กำเนิดอักษรไทย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัดและอักษรไทยเดิม ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญและคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ให้มีสระ  และวรรณยุกต์ให้ พอใช้กับภาษาไทย และทรงเรียกอักษรดังกล่าว ลายสือไทย ดังมีกล่าวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า
        "เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีพ่อขุนรามคำแหงผู้นั้นใส่ไว้…" (ปี ๑๒๐๕ เป็นมหาศักราชตรงกับพุทธศักราช ๑๘๒๖)

ลักษณะอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง        ๑.     อักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด มีดังนี้คือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ญ ฎ ฐ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห และได้เพิ่มพยัญชนะและวรรณยุกต์ให้พอกับภาษาไทยในสมัยนั้น ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ และวรรณยุกต์เอก และโท
        .      สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และสูงเสมอกัน เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้นสระอะ   สระอาเขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์เขียนไว้ข้างบน
        .      สระอะเมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น น่งง (นั่ง) ขบบ (ขับ)
        .      สระเอีย ใช้ ย แทน เช่น สยง (เสียง) ถ้าไม่มีตัวสะกดใช้สระอี   โดยไม่มีไม้หน้า
        .      สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว เช่น ตวว (ตัว)
        .      สระอือและสระออที่ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช้ อ เช่น ชี่ (ชื่อ) พ่ (พ่อ)
        .      สระอึ ใช้สระอิและสระอีแทน เช่น ขิ๋น (ขึ้น) จี่ง (จึ่ง)
        .      ตัว ม ที่เป็นตัวสะกดใช้นฤคหิต เช่น กลํ (กลม)  ฯลฯ

        อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง  ใช้แพร่หลายในเขตล้านนา ล้านช้าง และกรุงศรีอยุธยา      ต่อมาชาวล้านนาและชาวล้านช้างเลิกใช้อักษรไทยสมัยกรุงสุโขทัยและใช้อักษร ของพวกลื้อ ซึ่งเป็นอักษรไทยพวกหนึ่งแทน     ส่วนกรุงศรีอยุธยายังคงใช้อักษรไทยและดัดแปลงแก้ไขมาเป็นระยะ ๆ จนเป็นเช่นอักษรไทยปัจจุบัน

กวีสำคัญ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
                    พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๓   แห่งราชวงศ์พระร่วงสมัยกรุงสุโขทัย       เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และนางเสือง  มีพระเชษฐา ๒ พระองค์    องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์แต่ยังเยาว์    องค์กลางทรงพระนามว่า" บานเมือง "   และมีพระขนิษฐาอีก ๒ พระองค์   เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมีพระชนม์ได้ ๑๙ พรรษา ได้เสด็จไปในกองทัพกับพระะชนกและได้ทำยุทธหัตถีกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ ชัยชนะ   พระชนกจึงพระราชทานพระนามว่า      "พระรามคำแหง "  เมื่อพระชนกสวรรคต      พ่อขุนบานเมืองผู้เป็นพระเชษฐาได้ขึ้นครองราชย์และแต่งตั้งให้พ่อขุนราม คำแหงไปครองเมืองเชลียง     และเมื่อพ่อขุนบานเมืองสวรรคต      พ่อขุนรามคำแหงจึงได้ขึ้นครองกรุงสุโขทัย   เป็นกษัตริย์ลำดับที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วง
                    พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์    ทรงเป็นนักรบ   นักปกครอง  และนักอักษรศาสตร์   พระองค์ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ทรงแต่งตั้งราชทูตไปสานสัมพันธไมตรีกับจีน และได้นำช่างปั้นจากจีนมาปั้นเครื่องชามสังคโลกในกรุงสุโขทัย  ทรงทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา  ได้เป็นไมตรีกับเมืองลังกาและได้พระพุทธสิหิงค์จากเมืองลังกา โดยรับมาจากนครศรีธรรมราชอีกทอดหนึ่งในรัชสมัยนี้

.  พระยาลิไท
              พระมหาธรรมราชาที่    หรือพระยาลิไท  เป็นกษัตริย์องค์ที่    แห่งกรุงสุโขทัย  ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระยางัวนำถม   จากหลักฐานในศิลาจารึกวัดพระมหาธาตุ  พ.ศ. ๑๙๓๕  หลักที่  ๘ ข.  ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙  ได้กล่าวว่า  เมื่อพระยาเลอไทสวรรคตใน  พ.ศ. ๑๘๘๔  พระยางัวนำถมได้ขึ้นครองราชย์   ต่อมาพระยาลิไทยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติได้  และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๑๘๙๐     ทรงพระนามว่า   พระเจ้าศรีสุริยพงสรามมหาธรรมราชาธิราช     ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า  "พระยาลิไท"    หรือเรียกย่อว่า   พระมหาธรรมราชาที่ ๑  เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๑๙๑๑
                พระยาลิไททรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา     ทรงอาราธนาพระเถระชาวลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย        ได้สละราชสมบัติออกทรงพระผนวชที่วัดป่ามะม่วง    นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก     พระยาลิไททรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก  ทรงสนพระทัยบำรุงพระพุทธศาสนา เป็นอันมาก  และทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ    เช่น      สร้างถนนพระร่วงตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร)     บูรณะเมืองนครชุม     สร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก)      เป็นเมืองลูกหลวง  และสร้างพระพุทธชินราช  พระพุทธชินสีห์  ที่ฝีมือการ ช่างงดงามเป็นเยี่ยม

.  นางนพมาศ
              นางนพมาศเกิดในรัชกาลพญาเลอไท  กษัตริย์ที่    แห่งราชวงศ์พระร่วง   บิดาเป็นพราหมณ์ชื่อ  โชติรัตน์  มีราชทินนามว่า  พระศรีมโหสถ   รับราชการในตำแหน่งปุโรหิต  มารดาชื่อ  เรวดี       ภายหลังนางนพมาศได้ถวายตัวเข้าทำราชการในราชสำนักสมเด็จพระร่วงเจ้า      สันนิษฐานว่ารับราชการในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท)       จนกระทั่งได้รับตำแหน่ง   "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์"  พระสนมเอก
                ปรากฎว่า  นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา   ที่สำคัญๆ มีอยู่    ครั้ง  คือ  ครั้งที่     เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน   ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป     นางได้คิดประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบาน   มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน   เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงมาก
                ครั้งที่       ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน  เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง   มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย   ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู  นางนพมาศได้คิด ประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม  พระร่วงทรงโปรดปรานและรับ สั่งว่า  ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี  รับแขกก็ดี    ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น  ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมาก เวลาแต่งงาน  ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน
                ครั้งที่       นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้  ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย  พระ ร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น   ตรัสว่า  แต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้
         วรรณคดีสมัยสุโขทัยที่มีอยู่ในปัจจุบันนับว่าเป็นเรื่องสำคัญมี อยู่ ๔ เรื่อง คือ
                     ๑. ศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
                     ๒. สุภาษิตพระร่วง
                     ๓. เตภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง หรือไตรภูมิพระร่วง
                     ๔. นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ 
          ลักษณะวรรณคดีสมัยกรุงสุโขทัย
          
วรรณคดีสมัยกรุงสุโขทัยเท่าที่ปรากฏหลักฐานมีอยู่เพียง ๒  รัชสมัย คือ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  และสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท)  มีกวีและวรรณคดีสำคัญ ๔ เรื่อง  ลักษระวรรณคดี  เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับบ้านเมือง  วัฒนธรรมและอบรมสั่งสอนศีลธรรม  มิได้มุ่งเพื่อความบันเทิงโดยตรง  คำประพันธ์จะแต่งเป็นร้อยแก้ว  แต่ก็มีสัมผัสคล้องจองกัน  ซึ่งนิยมพูดในสมัยนั้น  การใช้ถ้อยคำระยะแรกใช้คำไทยแท้เป็นส่วนมาก  ระยะหลังมีคำบาลี สันสกฤตและคำเขมรปนมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น