2559-05-10

สุภาษิตพระร่วง

สุภาษิตพระร่วง
สมัยที่แต่งและผู้แต่ง
           
สุภาษิตพระร่วงหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บัญญัติพระร่วง เป็นวรรณกรรมที่ไม่ทราบ   ผู้แต่ง และสมัยที่แต่งชัดเจน ซึ่งผู้ศึกษาวรรณคดีไทยให้ความเห็นไว้ ดังนี้
            ดร.สิทธา พินิจภูวดลได้อ้างถึงผู้ศึกษาวรรณคดีหลายท่านที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับผู้แต่งสุภาษิตพระร่วง คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า สุภาษิตนี้คงรวบรวมขึ้นในสมัย พ่อขุนรามคำแหง ผู้แต่งคงมีหลายคน และคงไม่ได้แต่งเสร็จ คราวเดียวกัน
           
พระวรเวทย์พิสิฐ กล่าวว่า ผู้แต่งสุภาษิตพระร่วงคือพ่อขุนรามคำแหง เพราะลักษณะสำนวน ภาษาในสุภาษิตพระร่วงคล้ายคลึงกับสำนวนภาษาในศิลาจารึก  หลักที่ ๑ ลักษณะการสอน ของสุภาษิตนี้ก็สอดคล้องกับบุคลิกลักษณะของพ่อขุนรามคำแหง ที่ชอบเสด็จ ประทับ เหนือแท่นมนังคศิลาอาสน์ เพื่อทรงสอนประชาชน 
          ดร.สิทธา ยังได้อ้าง  คุณฉันทิชย์ กระแสสินธ์ว่า ผู้แต่งสุภาษิตพระร่วงคือ พระยาลิไทย เพราะสมัยนั้นกรุงสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองสุดขีด ไม่มีสงคราม พระยาลิไทยทรงเชี่ยวชาญพุทธศาสนา ได้ทรงนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วงขึ้นด้วย และอีกความเห็นหนึ่งกล่าวว่า คนรุ่นหลังแต่งสุภาษิตพระร่วงขึ้น และขอยืมชื่อ "พระร่วง" ใส่ไว้ เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ 
             สุภาษิตพระร่วง มีปรากฏหลักฐานว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๓   แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดให้จารึกสุภาษิตพระร่วงไว้บนผนังวิหาร ด้านเหนือพระมหาเจดีย์ที่วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม 
(
วัดโพธิ์) เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙
จุดมุ่งหมายในการแต่ง     เพื่อสั่งสอนประชาชนทั่วไป ในด้านการประพฤติปฏิบัติตน
ลักษณะคำประพันธ์
          
แต่งเป็นร่ายสุภาพ จบด้วยโคลงสองสุภาพและต่อด้วยโคลงสี่สุภาพกระทู้ ๑ บท
เนื้อเรื่อง
        
เริ่มด้วยการกล่าวถึงพระร่วงเจ้าผู้ครองกรุงกรุงสุโขทัย ทรงบัญญัติสุภาษิตเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติประชาชนเพื่อให้ยึดถ ือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต   มีสุภาษิตทั้งหมด ๑๕๘ บท สุภาษิตเหล่านี้เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติทั้งด้านการแสวงหาความรู้  การคบค้าสมาคม  การผูกไมตรี  การวางตัว  การรู้จักตัว  การสำนึกในเกียรติ  เป็นต้น
ตัวอย่างสุภาษิต 
   ปางสมเด็จพระร่วงเจ้า                 เผ้าแผ่นภพสุโขทัย  
                 
มลักเห็นในอนา               จึ่งผายพจนประภาษ
                 
เป็นอนุสาสนกถา             สอนคณานรชน
                  
ทั่วธราดลพึงเพียร             เรียนอำรุงผดุงอาตม์
                  
อย่าเคลื่อนคลาดคลาถ้อย        เมื่อน้อยให้เรียนวิชา
                  
ให้หาสินเมื่อใหญ่              อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน
                  
อย่าริระร่านแก่ความ           ประพฤติตามบุรพรบอบ
                  
เอาแต่ชอบเสียผิด               อย่าประกอบกิจเป็นพาล
                  
อย่าอวดหาญแก่เพื่อน          เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า
                  
หน้าศึกอย่านอนใจ              ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน
                  
การเรือนตนเร่งคิด               อย่านั่งชิดผู้ใหญ่ 
                  
อย่าใฝ่สูงให้พ้นศักดิ์             ที่รักอย่าดูถูก
                  
ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง              สร้างกุศลอย่ารู้โรย
                  
อย่าโดยคำคนพลอด             เข็นเรือจอดข้างถนน
                  
……………………………………………….. และจบลงด้วยโคลงกระทู้
เพื่อบอกถึงที่มาของสุภาษิตพระร่วง

                            
บัณ เจิดจำแนกแจ้ง            พิศดาร    ความเฮย
                     
ฑิต  ยุบลบรรหาร                   เหตุไว้
                     
พระ  ปิ่นนัคราสถาน                อุดรสุข    ไทยนา
                     
ร่วง  ราชนามนี้ได้                   กล่าวถ้อยคำสอน
คุณค่าของหนังสือ

     
๑. ด้านภาษา  ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ คล้องจอง กะทัดรัด ไม่มีศัพท์สูง จึงทำให้น่าอ่าน เพราะง่าย
ต่อการเข้าใจและจดจำ แต่ละวรรคจะสอนเพียงเรื่องเดียวเป็นใจความสั้น ๆ มีเหตุมีผลและมีอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบดี  เป็นการสอนศีลธรรมและคติธรรม    สำนวนโวหารคล้ายกันกับในหลักศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหง

     
๒. ด้านค่านิยมทางสังคม สุภาษิต สอนให้มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์   ส่งเสริมการศึกษา รู้จักประมาณตน ไม่โอ้อวด สร้างไมตรีไม่เบียดเบียนมิตร  รักเกียรติและศักดิ์ศรีมาก
กว่าทรัพย์ เช่น

   
สอนการปฏิบัติตน ให้รู้จักระวังตน        เช่น      
                       
"เมื่อน้อยให้เรียนวิชา     ให้หาสินเมื่อใหญ่"
                                              "เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า      หน้าศึกอย่านอนใจ"
                                              "เดินทางอย่าเดินเปลี่ยว    น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ" 

   
     สอนการปฏิบัติตนต่อมิตร  เช่น                                                 "อย่าควบกิจเป็นพาล       อย่าอวดหาญแก่เพื่อน
                  "อย่าขอของรักมิตร"        อย่าเบียดเสียดแก่มิตร"               "ยอมิตรยอลับหลัง" 
   สอนการปฏิบัติตนและเชื่อฟังผู้ใหญ่ เช่น 
                 
"อย่านั่งชิดผู้ใหญ่"       "อย่าขัดแข้งผู้ใหญ่     อย่าใฝ่ตนให้เกิน"
                 "ผู้เฒ่าสั่งจงจำความ"  "จงนบนอบผู้ใหญ่"       "เจ้าเคียดอย่าเคียดตอบ"
   สอนการปฏิบัติตนต่อศัตรู     
                  "พบศัตรูปากปราศัย   ความในอย่าไขเขา” 
 
   สอนให้รักศักดิ์ศรีของตนเอง    "รักตนกว่ารักทรัพย์    อย่าได้รับของเข็ญ"
                                 "สุวานขบอย่าขบตอบ"     "สู้เสียศีลอย่าเสียสัตย์"       
 "ตระกูลตนจงคำนับ"  สอนให้รู้จักกตัญญูกตเวที เช่น  "เลี้ยงคนจักกินแรง"   "ภักดีอย่าด่วนเคียด"
                                                               "อาสาเจ้าจนตาย    อาสานายจนพอแรง"
                                                              "ภักดีจงอย่าเกียจ    เจ้าเคียดอย่าเคียดตอบ"

  
สอนให้รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่คนอื่น  เช่น 
                             
"ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง    สร้างกุศอย่ารู้โรย
                                                        "เป็นคนอย่าทำใหญ่     ข้าคนไพร่อย่าไฟฟุน"
                                                      "พึงผันเผื่อต่อญาติ"         "ปลูกไมตรีทั่วชน"
                                                      "พรรคพวกพึงทำนุก"       "คนจนอย่าดูถูก"
   ๓. ด้านอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น กวีรุ่นหลังนิยม นำข้อความบางตอน ไปแทรกไว้ใน วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ เช่น ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ตอนนางพรหมณีบอกนางอมิตดาว่า "ะมารักเหากว่าผม จะมารักลมกว่าน้ำ   อย่ารักถ้ำกว่าเรือน  อย่ารักเดือนกว่าตะวัน  หรือตอนพระเวสสันดร ตรัสต่อนางมัทรีว่า "ข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า  เป็นต้น
          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๖  ทรงนำสุภาษิตพระร่วงมาทรงพระราชนิพนธ์ สุภาษิตพระร่วงคำโคลง  เป็นโคลงสี่สุภาพ  จำนวน  ๑๑๕  บท  ดังโคลงว่า
                                                                     แปลงกลอนแห่งร่วงเจ้า     ภาษิต
                                                          เป็นบทโคลงประดิษฐ์                  ดังนี้
                                                         เพื่อหวังจะจูงจิต                             แห่งเพื่อน  ไทยแฮ
                                                        ไขสุภาษิตชี้                                      ช่วยให้เห็นธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น